เลือกหน้า

ซื้อพรบ.สำหรับรถของคุณ

N

คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล

N

มีค่าชดเชยต่อวันกรณีนอนรพ.

N

ทำพรบ.เพื่อต่อภาษีรถยนต์

คุ้มครองอะไรบ้าง

 

ความคุ้มครอง วงเงินความรับผิด / คน

การชดเชยขั้นแรก

(ไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด)

ค่ารักษาพยาบาล ฿30,000
กรณีเสียชีวิต/สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพถาวร ฿35,000

การชดเชยเต็มวงเงิน

(เมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก)

ค่ารักษาพยาบาล ฿80,000
กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร ฿300,000
สูญเสียอวัยวะ นิ้วมือ/นิ้วเท้า ตั้งแต่ 1 ข้าง ฿200,000
สูญเสียอวัยวะ 1 ข้าง (แขน ขา มือ เท้า ตาบอด) ฿250,000
สูญเสียอวัยวะ 2 ข้าง (แขน ขา มือ เท้า ตาบอด)  ฿300,000
ค่าชดเชยต่อวันไม่เกิน 20 วัน

฿200 / วัน

สูงสุด ฿4,000 / ครั้ง

 

ทำไมต้องทำ พ.ร.บ.

กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี พ.ร.บ.

นำ พ.ร.บ. ต่อภาษีรถยนต์

มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับอุบัติเหตุที่เกิดจากรถของเรา

สาระน่ารู้เรื่อง พ.ร.บ.

ทำไมต้องทำพรบ.

การประกันภัยนี้เป็นภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 จุดประสงค์เพื่อให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ให้มีการประกันภัยรถยนต์ตามที่กฏหมายบังคับ และให้ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย การรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว หรือได้รับค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต

ผู้ที่ต้องทำ พรบ.

เจ้าของรถหรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ ผู้เช่าซื้อรถ หรือผู้มีกรรมสิทธิ์ครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อ และเจ้าของรถซึ่งนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราว

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองจาก พรบ.

ทุกคนที่ประสบภัยจากรถ เช่น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า คนที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขณะที่อยู่ในรถและอยู่นอกรถ

ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยได้รับจาก พรบ.

บริษัทประกันภัยจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทประกันภัยได้รับคำร้องขอ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด

กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับ ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท

กรณีเสียชีวิต ทายาทของผู้ประสบภัยจะได้รับ ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ ไม่เกิน 35,000  บาท

กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ ไม่เกิน 35,000 บาท

หลังจากเข้ารักษาพยาบาลแล้ว และเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร  ทายาทผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้รวมแล้ว ไม่เกิน 65,000 บาท/1 คน (เช่น ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาท+ค่าปลงศพไม่เกิน 35,000 บาท)

 

 

ค่าเสียหายส่วนเกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น

 กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับ ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 80,000 บาท/ครั้ง (รวมค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น 30,000 บาทแล้ว)

กรณีเข้ารับการรักษารพ.แบบคนไข้ใน ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท (สูงสุด 20 วัน) ไม่เกิน 4,000  บาท/ครั้ง

กรณีเสียชีวิต/สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ ไม่เกิน 300,000 บาท (ไม่ว่าจะมีค่ารักษาพยาบาลหรือไม่)

ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ รวมแล้วไม่เกิน 304,000 บาท/1 คน /ครั้ง

ความคุ้มครองกรณีไม่มีผู้ใดยอมรับผิด

เมื่อรถทั้ง 2 คันมีพรบ. แต่ไม่มีฝ่ายใดยอมรับผิด ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้โดยสาร จะได้รับความคุ้มครองตามหลักการสำรองจ่าย ดังนี้

กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับ ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 80,000 บาท/ครั้ง (บริษัทประกันภัยสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จ)

กรณีเสียชีวิต/สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบภัยหรือทายาทผู้ประสบภัย จะได้รับการชดใช้ ไม่เกิน 300,000 บาท/คน (บริษัทประกันภัยสำรองจ่ายค่าสินไหมทดทดแทนหรือค่าปลงศพ)

ความคุ้มครองกรณีไม่มีคู่กรณี จากอุบัติเหตุ

กรณีผู้ประสบภัยผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่และไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฏหมาย

ผู้ประสบภัยสามารถยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นกับ บริษัท กลางผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (เป็นบริษัทประกันวินาศภัยตั้งขึ้นโดยกฏหมาย ทำหน้าที่รับคำร้องและจ่ายค่าสินไหมทดแทน แทนบริษัทประกันภัย)

ความคุ้มครองกรณีที่ไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัย

กรณีผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย เนื่องจาก

เจ้าของรถขับรถชนแล้วหนี

เจ้าของรถไม่มีพรบ.

เจ้าของรถไม่จ่ายค่าเสียหาย

รถที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย (เช่น รถของส่วนราชการต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น)

ผู้ประสบภัยสามารถยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จาก กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

ความคุ้มครองผู้โดยสาร/บุคคลภายนอกรถที่เป็นฝ่ายผิด

กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับ ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท

กรณีเสียชีวิต ทายาทของผู้ประสบภัยจะได้รับ ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ ไม่เกิน 35,000  บาท

กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ ไม่เกิน 35,000 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม